ภาพจิตรกรรมในอาคารภาพปริทัศน์
มีการนำเสนอดังนี้
๑. เดินชมด้วยการดูภาพเขียนและอ่านคำอธิบายเนื้อเรื่องที่แท่นหน้ากลุ่มภาพ
๒. นำเสนอด้วยการใช้ระบบแสง สี เสียง ไปทีละกลุ่มภาพ กรณีมาเป็นหมู่คณะ
๓. นำเสนอโดยใช้เจ้าหน้าที่อธิบายทีละกลุ่มภาพ
๔. ภาษา : • มีภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อธิบายที่แท่นหน้ารูป • ระบบเสียง มีทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ

อาคารภาพปริทัศน์ เป็นอาคารรูปแปดเหลี่ยม ๒ ชั้น ชั้นบนมีฝาผนังโค้งเป็นวงกลม การจัดแสดงภาพในอาคารนี้ ผู้เข้าชม
จะสามารถมองไปรอบ ๆ เพื่อชมภาพอย่างต่อเนื่องได้ (PANORAMA) และกำหนดภาพให้เป็นเรื่องการสร้างบ้านเมืองเป็น
ราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยลำดับ10 รับ 100มาจนถึงสมัยปัจจุบัน
อาคารภาพปริทัศน์ มีการจัดแสดงภาพวาดสีน้ำมันเขียนด้วยสีอคริลิค (Acylic) เป็นภาพจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ร้อยเรียงประวัติ
ศาสตร์ชาติไทย โดยภาพวาดสามารถอธิบายเหตุการณ์ ต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ หรือเรียก ได้ว่าเป็นการบรรยายประวัติศาสตร์
ด้วยภาพ บรรยายเหตุการณ์สำคัญเป็นวงกลมแบบ ๓๖๐ องศา เพียงเดินวน 1รอบ เป็นภาพเขียนที่ต่อเนื่องยาวถึง ๙๐ เมตร มีภาพบุคคล ขบวนทัพ อาวุธ รถ หรือ ยานพาหนะ บ้าน เรือน อาคารต่าง ๆ ช้าง ม้า และสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบ
ของกลุ่มภาพแต่ละกลุ่มนั้น แสดงรูปแบบลักษณะของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ในยุคนั้น ๆ ตรงตามหลักฐานทางโบราณคดี
ศิลปกรรม และประวัติศาสตร์
คณะอนุกรรมการจัดและตกแต่งอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ได้มอบหมายให้คณะทำงานตกแต่งอาคารภาพปริทัศน์ เป็นผู้พิจารณา
เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมอบหมายให้ อาจารย์ ปรีชา เถาทอง
เป็นหัวหน้าคณะออกแบบ และดำเนินการในการเขียนภาพ มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยรังสิต เข้าร่วม
เขียนภาพด้วย โดยแบ่งกลุ่มภาพออกเป็น ๑๐ กลุ่มภาพ ตามลำดับสมัยคือ
- กลุ่มภาพที่ ๑ การก่อตั้งบ้านเมือง
- กลุ่มภาพที่ ๒. การวิวัฒนาการ
- กลุ่มภาพที่ ๓. การเสียเอกราชและการกู้เอกราชครั้งที่ ๑
- กลุ่มภาพที่ ๔. ความรุ่งเรืองของราชอาณาจักร
- กลุ่มภาพที่ ๕. การเสียกรุงครั้งที่ ๒
- กลุ่มภาพที่ ๖. การกู้เอกราชครั้งที่ ๒ และการต่อตั้งกรุงธนบุรี
- กลุ่มภาพที่ ๗. การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์
- กลุ่มภาพที่ ๘. สงครามเก้าทัพ
- กลุ่มภาพที่ ๙. การรอดพ้นจากการล่าอาณานิคม
- กลุ่มภาพที่ ๑๐. การเข้าสู่ยุคใหม่