สงครามมหาเอเชียบูรพา
สงครามมหาเอเชียบูรพา

สงครามมหาเอเชียบูรพา

สาเหตุของสงครามมหาเอเชียบูรพา

สงครามโลกครั้งที่ ๒ อุบัติขึ้นในทวีปยุโรป เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ ในระยะแรกฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำการรบแก่เยอรมนี ทำให้เยอรมนีสามารถครอบครองดินแดนทวีปยุโรปตะวันตก ซึ่งประกอบด้วย เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศสไว้ได้เกือบทั้งหมด รวมทั้งเข้ายึดครองนอร์เวย์ เดนมาร์คทางด้านเหนือ และสล็อตออนไลน์ได้อีกด้วย

แผนที่แสดงประเทศคู่กรณี
แผนที่แสดงประเทศคู่กรณี

ขณะเดียวกันญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ก็มีความปรารถนาที่จะแผ่อิทธิพลลงมาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของ สหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ จึงได้ฉวยโอกาสที่อังกฤษ ฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำ ในการทำสงครามส่งกำลัง
เข้าไปในอินโดจีนภาคเหนือ

สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพันธมิตรของอังกฤษและฝรั่งเศสเล็งเห็นว่า หากปล่อยให้ญี่ปุ่นแผ่อิทธิพลลงมาในเอเชียอาคเนย์จะเป็นภัย และกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ใน มหาสมุทรแปซิฟิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เกาะฟิลิปปินส์และหมู่เกาะฮาวาย ทั้งจะกระทบกระเทือน ต่อระบบการป้องกัน และเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ อีกด้วย ดังนั้น จึงยื่นคำขาดให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกจากจีน มิฉะนั้นสหรัฐ ฯ จะยกเลิกสัญญาการเดินเรือ และการพาณิชย์กับญี่ปุ่นรวมทั้งจะยึดทรัพย์สินของญี่ปุ่นในสหรัฐ ฯ และระงับการส่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากสหรัฐ ฯ เข้าไปในญี่ปุ่นอีกด้วย

ญี่ปุ่นจึงได้ส่ง นายพล โนโมรุ และ นายกุรุสุ ในฐานะเป็นเอกอัครราชทูตพิเศษไป เจรจาที่กรุงวอชิงตัน ในระหว่างที่ยังมีการเจรจาติดพันกันอยู่ ที่กรุงวอชิงตัน

และ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ญี่ปุ่นได้ส่งกองบิน ไปทิ้งระเบิดเพิร์ลฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) เพื่อทำลายฐานทัพเรือและกำลังทางอากาศของสหรัฐฯ

ในวันเดียวกันกับญี่ปุ่นไปทิ้งระเบิดเพิร์ลฮาร์เบอร์ ญี่ปุ่นซึ่งเตรียมการมาอย่างดีได้ถือโอกาสส่งกำลังเข้าตามจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในเอเชียอาคเนย์   สงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ ๒  จึงได้อุบัติขึ้น     

 

คืนวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ญี่ปุ่นได้ส่งกองเรือยกพลขึ้นบกตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย ตั้งแต่บางปู จังหวัดสมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี เพื่อเป็นทางผ่านเข้ายึดพม่า และมาลายูของอังกฤษ นอกจากนี้ยังได้ส่งกำลังพลโดยทางรถไฟ เพื่อเข้าสู่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่ง

กำลังของไทยที่ประจำอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั้งทหารตำรวจ ยุวชนทหาร และพลเรือน  ได้ต่อสู้ป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่นอย่างเต็มความสามารถ

จนกระทั่ง วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. รัฐบาลสั่งให้ยุติการรบ และยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทางผ่านประเทศไทย โดยญี่ปุ่นรับรองจะเคารพเอกราชและอธิปไตยของประเทศไทย ในระหว่างนี้กองทัพญี่ปุ่นเริ่มมีชัยในการรบหลายแห่ง รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องทำสัญญาทางทหารร่วมกับญี่ปุ่นในวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔

 จอมพล ป.พิบูลสงคราม

หลังจากที่ไทยยินยอมลงนามในกติกาสัญญาพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ แล้ว ได้มีการลงนามร่วมกันในข้อตกลงในกิจที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔ ระหว่าง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กับ พลโท อีดะ แม่ทัพกองทัพที่ ๑๕ ญี่ปุ่น ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกญี่ปุ่นในประเทศไทย
พลเรือตรี ซาคอง ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น

และอีก ๑๐ วัน ต่อมา ได้มีการลงนามเพิ่มเติมในรายละเอียดของข้อตกลงที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างญี่ปุ่นกับไทยอีกฉบับหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ ในที่สุดประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ นับว่าประเทศไทยได้เข้าสู่สถานะสงครามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การปฏิบัติตามสัญญาร่วมยุทธกับญี่ปุ่นดังกล่าว นายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายคน  ได้พิจารณาเห็นพ้องกับ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ว่าญี่ปุ่น ไม่สามารถจะชนะสงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตร อันมีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งขณะนั้นตั้งแนวล้อมญี่ปุ่นที่เรียกว่าแนว ABCD (A-America B-Britain C-China D-Dutch) ไว้อย่างหนาแน่นได้เลย ดังนั้น จอมพล ป.จึงมีแนวความคิดทางยุทธศาสตร์ ที่สงวนกำลังกองทัพไทยไว้ไม่ให้ถูกญี่ปุ่นปลดอาวุธ และยึดครองประเทศไทย เมื่อญี่ปุ่นเพลี่ยงพล้ำแล้วค่อยใช้กำลังทหารที่สงวนไว้นี้ สำหรับขับไล่ทหารญี่ปุ่นให้ออกจากประเทศไทย

 แผนที่เขตปฏิบัติการ

จากแนวความคิดที่จะสงวนกำลังกองทัพไว้นี้ จึงเกิดหนทางปฏิบัติที่จะแยกกำลังกองทัพบกให้อยู่ห่างไกลจากเส้นทางเดินทัพของญี่ปุ่น  ด้วยการย้ายกำลังทางบกส่วนใหญ่ไปไว้ทางเหนือของประเทศ เพื่อไม่ให้ถูกญี่ปุ่นจู่โจมเข้าปลดอาวุธได้ เช่นเดียวกับกำลังทหารของอินโดจีนฝรั่งเศส

ในช่วงระยะเวลาที่ผู้นำประเทศไทย มีแนวความคิดและหนทางปฏิบัติดังกล่าว ฝ่ายญี่ปุ่นก็มีความหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจฝ่ายไทยที่อาจจะขัดขวางการปฏิบัติของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งมุ่งหน้าส่งกำลังออกไปทำสงครามด้านพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนหลังของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งต้องอาศัยการส่งกำลังบำรุงจากประเทศไทย

และเพื่อที่จะให้ฝ่ายไทยได้ร่วมรับผิดชอบ ในการทำสงครามตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นจึงขอร้องให้รัฐบาลไทยส่งทหารไปร่วมรบกับทหารญี่ปุ่นในประเทศพม่า โดยตกลงแบ่งมอบพื้นที่รับผิดชอบในการปฏิบัติการรบ

ให้ฝ่ายไทยส่งกำลังทหารเข้ายึดพื้นที่รัฐฉาน(สหรัฐไทยเดิม)ของพม่า เพื่อป้องกันปีกขวาของกองทัพญี่ปุ่นที่มุ่งเข้าสู่พม่า
จอมพล ป. พิบูล สงคราม ได้ยินยอมตามข้อเสนอของญี่ปุ่น เนื่องจากสอดคล้องกับแนวความคิดในการที่จะนำกำลังทหาร
ส่วนใหญ่ไปปฏิบัติการทางภาคเหนือ ของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นผลดีต่อการป้องกันมิให้เกิดการกระทบกระทั่ง ระหว่างกำลังทหารของไทยกับญี่ปุ่น  และเพื่อหาทางติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรผ่านทางประเทศจีน ในกรณีที่ญี่ปุ่นเพลี่ยงพล้ำในการทำสงคราม ดังนั้น กองบัญชาการทหารสูงสุดจึงจัดตั้งกองทัพพายัพขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ และมอบหน้าที่ให้เข้าไปปฏิบัติการในดินแดนสหรัฐไทยเดิม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย


 การจัดตั้งกองทัพพายัพ

———–การจัดตั้งกองทัพพายัพ —————————————พลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

เมื่อกองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ออกคำสั่งจัดตั้งกองทัพพายัพขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม
พ.ศ.๒๔๘๔ โดยสนธิกำลังทหารจากหน่วยต่าง ๆ ทั่วประเทศ และแต่งตั้งให้ พลตรี จรูญ รัตนกุล
เสรีเริงฤทธิ์ เป็นแม่ทัพกองทัพพายัพ ได้มีการจัดกองทัพพายัพ ซึ่งประกอบด้วยกองบัญชาการ
กองทัพพายัพ กองพลทหารราบ ๓ กองพล (กองพลที่ ๒ จากจังหวัดปราจีนบุรี กองพลที่ ๓ จาก
จังหวัดนครราชสีมา กองพลที่ ๔ จากจังหวัดนครสวรรค์) กองพลทหารม้า ๑ กองพล และกรมทหาร
ม้าอิสระ (กรมทหารม้าที่ ๑๒) ๑ กรม กับหน่วยขึ้นสมทบคือ ๑ กองพันทหารราบ ๒ กองพันทหารปืน
ใหญ่และ ๔ กองพันทหารช่าง

นอกจากนี้กองทัพอากาศยังได้บรรจุมอบกองบินน้อยผสมที่ ๘๐ จังหวัดลำปาง เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพพายัพด้วย และกองบัญชาการทหารสูงสุด ยังได้จัดตั้งกองตำรวจสนามขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในด้านการปกครอง และการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ที่ยึดครองกับเพื่อ
สนับสนุนหน่วยทหารในการรักษาพื้นที่บางแห่งที่อยู่ห่างไกล และมีความสำคัญในทางการรบน้อยเป็นการแบ่งเบาภาระของทหารอีกด้วย

 แผนผังการจัดกองทัพของจีน

พื้นที่รัฐฉานหรือสหรัฐไทยเดิม ที่ฝ่ายไทยเข้าปฏิบัติการยุทธในสงครามมหาเอเชียบูรพานี้ เป็นรัฐหนึ่งของพม่าที่อยู่ในเขตการปกครองของอังกฤษ เมื่อเปิดฉากสงครามในระยะแรกกองทัพ ญี่ปุ่นยังมีความสมบูรณ์เข้มแข็งในการรบ จึงได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วไม่แพ้การทำสงครามแบบสายฟ้า
แลบของเยอรมนีในสมรภูมิยุโรป

การรุกรบของกองทัพญี่ปุ่นเข้าไปในพม่า ทำให้สถานการณ์ของอังกฤษทางด้านนี้ตกเป็นเบี้ยล่าง และคับขันเข้าขั้นวิกฤต จึงจำเป็นต้องถอนกำลังออกไปจากพม่า แต่ก่อนที่จะถอนตัว อังกฤษได้มอบพื้นที่และภารกิจในการต้านทานกองทัพญี่ปุ่นใน
สหรัฐไทยเดิม ให้กับกองทัพจีน ซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรและเป็นประเทศคู่สงครามกับญี่ปุ่นมาก่อน ดังนั้นสหรัฐไทยเดิม จึงเป็นพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพจีนฝ่ายก๊กมินตั๋ง ภายใต้การบังคับบัญชาของ จอมพลเจียง ไคเช็ค โดยมอบให้ กองพลที่ ๙๓ เป็นหน่วยรับผิดชอบ ด้วยเหตุนี้เอง การรบในพื้นที่สหรัฐไทยเดิมระหว่าง
สงครามมหาเอเชียบูรพา จึงเป็นการรบระหว่างกองทัพพายัพของไทยกับกองพลที่ ๙๓ ของจีนโดยตรง

————————-แผนที่การเข้าตีเมือง—————————————– —————-พิธีเชิญธงชาติไทย

กองทัพพายัพ ได้ปฏิบัติการยุทธในขั้นต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่เคลื่อนทัพเข้าสู่ดินแดนสหรัฐไทยเดิม เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๕ และสามารถเข้ายึดเมืองสำคัญต่าง ๆ ในสหรัฐไทยเดิมได้ทั้งหมด จนนำกองทัพเข้าประชิดชายแดนพม่า จีนในเขตแดนของมณฑลยูนนาน


 สงครามยุติ


สงครามมหาเอเชียบูรพา เริ่มต้นตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ สหรัฐอเมริกาได้ส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่เมืองฮิโรชิมา ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เมื่อ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ และได้ทิ้งระเบิด ครั้งที่ ๒ ที่เมืองนางาซากิ ในวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘

——————————————–สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิฮิโรชิโต

สมเด็จพระจักรพรรดิ ฮิ โรฮิโต จึงมีพระบรมราชโองการให้กองทัพญี่ปุ่นทุกยุทธบริเวณ ยุติการรบในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘

วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ ฮิโรฮิโต ทรงประกาศทางวิทยุกระจายเสียงยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างไม่มีเงื่อนไข สงครามมหาเอเชียบูรพาดำเนินมาเกือบ ๔ ปี จึงยุติ

วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ มีพระบรมราชโองการว่า การประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเป็นโมฆะ เพราะเป็นการทำผิดเจตจำนงของประชาชนชาวไทยและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของบ้านเมือง ขบวนการเสรีไทยซึ่งปฏิบัติงานใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่น และให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร นับว่ามีส่วนช่วยให้สหรัฐอเมริกาให้ความเห็นใจ
ประเทศไทยอย่างมาก และได้ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ประกาศรับรองสันติภาพของไทย เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘


 ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์

 ทหารอากาศไทยรบกับทหารญี่ปุ่น

ในสงครามมหาเอเชียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนพลผ่านประเทศไทย เพื่อนำกำลังเข้าไปยังประเทศพม่า อินเดีย มาเลเซีย และสิงคโปร์

โดยในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เวลาประมาณ ๐๔๐๐ ญี่ปุ่นนำกำลังพลเข้าประเทศไทย ๘ จุด พร้อมกัน คือ กำลังทางบกเข้ามาทางปราจีนบุรี ด้านอรัญประเทศ กำลังทางเรือยกพลขึ้นบกชายฝั่งทะเล ๗ จุด คือ สมุทรปราการ (บางปู) ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กองกำลังทางเรือของญี่ปุ่นประมาณ ๒,๐๐๐ คน ได้ยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาว และอ่าวประจวบโดยแบ่งกำลังพลส่วนหนึ่งเข้ายึดสถานีตำรวจและสถานีรถไฟ ด้านอ่าวประจวบ และกำลังพลอีกส่วนหนึ่งเข้ายึดกองบินน้อยที่ ๕ ด้านอ่าวมะนาว

ขณะนั้นทหารอากาศส่วนหนึ่งในความควบคุมบังคับบัญชาของ เรืออากาศตรี ศรีศักดิ์ สุจริตธรรม กำลังลากอวนหาปลาเพื่อนำมา
ประกอบอาหารตามปกติ ได้สังเกตเห็นเงาคนจำนวนมากเคลื่อนฝ่าสายน้ำเข้ามาอย่างเงียบเชียบ จึงได้สั่งการให้ทหารตะโกนแจ้งเหตุสำคัญให้ นาวาอากาศตรี หม่อมหลวง ประวาศ ชุมสาย ซึ่งเป็นผู้บังคับการกองบินน้อยที่ ๕ ทราบ

หลังจากนั้นได้เกิดการสู้รบทั้ง ๒ ด้าน คือ ด้านอ่าวประจวบกองกำลังรักษาการณ์ปะทะกับทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตเกือบทั้งหมด ทางด้านอ่าวมะนาวกำลังภาคพื้นดินได้สู้รบด้วยปืนกล หนักแบบ ๗๗ และปืนกลเบาแบบ ๖๖ การรบได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้บังคับกองบินน้อยที่ ๕ ได้ตัดสินใจสู้ตาย จึงสั่งการให้กองกำลังทหารภาคพื้นดินติดดาบปลายปืน เพื่อปะทะกับข้าศึกในระยะประชิด และให้อพยพครอบครัวซึ่งมีเด็ก ผู้หญิง และคนชราไปไว้ที่เขาล้อมหมวก
กำลังทหารอากาศ ประกอบด้วยเครื่องบินฮอว์ค ๓, ฮอว์ค ๗๕ และคอร์แชร์ ซึ่งประจำการอยู่ ณ ที่ตั้ง จำนวน ๘ เครื่อง ได้พยายามวิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนการรบภาคพื้นดิน แต่เครื่องบินถูกยิงได้รับความเสียหาย ๓ เครื่อง นักบินเสียชีวิตหมด

ต่อจากนั้นได้พยายามจะบินขึ้นอีก ๓ เครื่อง แต่ถูกยิงจนเครื่องบินได้รับความเสียหายอีก ๒ เครื่อง นักบินบาดเจ็บสาหัส อีกเครื่องหนึ่ง พันจ่าอากาศเอก แม้น ประสงค์ดี เป็นนักบินสามารถนำเครื่องขึ้นไปทิ้งระเบิดใส่เรือข้าศึก แต่พลาดเป้าหมายไปตกที่เขาวัวตาเหลือก

ต่อมา เรืออากาศโท สวน สุขเสริม นักบินพร้อมด้วย พลทหาร สมพงษ์ แนวบรรทัด พลปืนหลัง ได้พยายามจะนำเครื่องบินคอร์แชร์ขึ้นต่อสู้ แต่เรืออากาศโท สวนฯ ได้ถูกทหารญี่ปุ่นรุมแทงจนได้รับบาดเจ็บสาหัสขณะกำลังจะนำเครื่องบินขึ้น

 นักบินพยายามนำเครื่องขึ้น

 ทหารไทย/ญี่ปุ่นจับมือ

 อนุสาวรีย์ ๘ ธ.ค.๒๔๘๔ ที่กองบินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เหตุการณ์สู้รบอย่างรุนแรง ได้ดำเนินมาจนกระทั่งเวลาประมาณ ๑๒.๐๐ น. ของวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ผู้บังคับการกองบินน้อยที่ ๕ จึงได้รับโทรเลขจาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี สั่งการให้สงบศึกและให้ทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านเมืองประจวบฯ ได้

ผลจากการสู้รบในครั้งนั้น ปรากฏว่า กำลังพลของกองบินน้อยที่ ๕ เสียชีวิต ๓๙ คน เด็กเสียชีวิต ๑ คน สตรี ๒ คน ส่วนทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก เรือลำเลียงพลท้องแบนจม ๒ ลำ


 ผลที่ได้รับในสงครามมหาเอเชียบูรพา

ตลอดระยะเวลาสงคราม ประเทศไทยต้องประสบกับการโจมตีทางอากาศ สถานที่ราชการ และบ้านเรือนราษฎร ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายทางทหารในการสงคราม เป็นจำนวนเงินถึง ๘๑๒ ล้านบาท กำลังพลเสียชีวิต จำนวน ๕,๙๕๗ คน ดังนี้
นายทหาร ๑๔๓ คน
นายสิบ ๔๗๔ คน
พลทหาร ๔,๙๔๒ คน
ตำรวจ ๘๘ คน
พลเรือน ๓๑๐ คน

นอกจากการสูญเสียดังกล่าวแล้ว สงครามครั้งนี้ยังส่งผลให้ประเทศไทย คือ

๑. ประเทศไทยถูกบังคับด้วยสนธิสัญญาสมบูรณ์แบบ ทำให้ต้องคืนดินแดนกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส ซึ่งญี่ปุ่นมอบให้ไทย เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๖ แก่อังกฤษ พร้อมต้องชดใช้ค่าเสียหายใน ๔ รัฐมลายู เป็นเงิน ๓๐ ล้านบาท พร้อมทั้งยอมขายข้าว ดีบุก ยางพารา ไม้สัก ตามราคากำหนด และส่งข้าวจำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐ ตัน ให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่า
๒. ประเทศไทยต้องคืนดินแดนที่ได้จากกรณีพิพาทอินโดจีน คือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส
๓. เศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เกิดภาวะเงินเฟ้อ ตลาดมืด การกักตุนสินค้า ฯลฯ
๔. สภาพสังคมเสื่อมโทรม คดีอาชญากรรมเพิ่มขึ้น ขวัญของทหารและประชาชนตกต่ำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *