ความบาดหมางระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส

ความบาดหมางระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส ได้โปรโมชั่นฝาก50รับ150คุกรุ่นมาตั้งแต่ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสครั้งแรกในปี พุทธศักราช ๒๔๑๐ หลังจากนั้นฝรั่งเศสซึ่งกำลังแข่งขันกับประเทศ มหาอำนาจในการแสวงหาอาณานิคม ได้ถือโอกาสที่ไทยมีกำลังน้อยกว่า บีบบังคับยึดครอง
ดินแดนจากไทยไปอีก รวมดินแดนที่ไทยต้องเสียให้แก่ฝรั่งเศส ๕ ครั้ง คิดเป็นเนื้อที่ ๔๖๗,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร
ในระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในยุโรปอยู่นั้น ฝรั่งเศสเกิดความห่วงใยต่ออาณานิคมของตนในอินโดจีน เพราะเกรงว่าประเทศไทยจะส่งกำลังเข้ายึดครองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ซึ่งถูกฝรั่งเศสยึดครองไป เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๖ จึงเสนอขอทำสัญญาไม่รุกรานกับประเทศไทย ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยภายใต้การนำของ พลตรีหลวง พิบูลสงคราม ได้ยื่นข้อเสนอให้ฝรั่งเศสปรับปรุงเส้นเขตแดน ระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสใหม่ ่โดยให้ถือแนวร่องน้ำลึกของแม่น้ำโขงเป็นเขตแดนตามแบบสากล กับให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบาง และปากเซ และหากฝรั่งเศสไม่ได้ปกครองอินโดจีนแล้วขอให้ ้คืนลาวกับกัมพูชาให้ไทย
รัฐบาลฝรั่งเศสได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวของไทย ทำให้เกิดปฏิกิริยาในหมู่ประชาชนชาวไทยเกือบทั้งประเทศ ได้พร้อมใจกันเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างจัดหน่วยกำลังเผชิญหน้ากันตามชายแดน
และภายหลังจากที่ ฝรั่งเศส ได้ส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๓ กรณีพิพาทอินโดจีนจึงได้เริ่มขึ้น และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงใช้กำลังทหารเข้าสู้รบกัน โดยกองทัพบกสนาม อันประกอบด้วย กองทัพบูรพา กองทัพอีสาน และกองทัพพายัพ ได้ปฏิบัติการรุกเข้าไปในดินแดนข้าศึก พร้อมกับมีตำรวจสนามให้การสนับสนุนด้วย
แนวรบ ได้กระทำกันตั้งแต่พื้นที่สามเหลี่ยมตรงข้ามหลวงพระบางจรดอ่าวไทยที่อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด กองทัพอากาศได้ทำการสู้รบกับเครื่องบินข้าศึก และโจมตีทิ้งระเบิดเป้าหมายทางบก ทางทะเล และรบร่วมกับกำลังทางพื้นดินอย่างได้ผล จนได้ชื่อว่าผู้ครองอากาศเหนือยุทธบริเวณหลายแห่ง ส่วนกองทัพเรือก็ได้ประกอบวีรกรรมการรบทางทะเลที่สำคัญคือ “ยุทธนาวีที่เกาะช้าง”
ยุทธนาวีที่เกาะช้าง
วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๘๔ ฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทางเรือส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินโดจีนในบังคับบัญชาของ นาวาเอก เรจี เบรังเยร์ อันมีเรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์เป็นเรือธง พร้อมด้วยเรือสลุป ๒ ลำ เรือปืน ๒ ลำ เรือสินค้าขนาดใหญ่ติดอาวุธ ๑ ลำ และเรือดำน้ำอีก ๑ ลำ รวมทั้งสิ้น ๗ ลำเข้ามาในน่านน้ำไทย ทางด้านเกาะช้าง ด้วยความมุ่งหมายที่จะระดมยิงหัวเมืองชายทะเลทางภาคตะวันออก
เรือลามอตต์ปิเกต์
เรือดูมองต์ดูร์วิลล์
เรืออามิราล ชาร์เนอร์
เรือตาอูร์
เรือมาร์น
เช้าวันที่ ๑๗ มกราคม กำลังทางเรือของข้าศึกได้อาศัยความมืด และความเร็วรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้เกาะช้าง มีจำนวนด้วยกันทั้งหมด ๕ ลำ คือ เรือลาดตระเวน ลามอตต์ปิเกต์ (Lamotte picquet) ระวางขับน้ำ ๗,๘๘๐ ตัน เรือสลุป ๒ ลำ คือ เรือดูมองต์ ดูร์วิลล์ (Dumont.’durville) ระวาง ขับน้ำ ๒,๐๐๐ ตัน และ เรืออามิราล ชาร์เนอร์ (Amiral Charner) ระวางขับน้ำ ๒,๐๐๐ ตัน เรือปืน ๒ ลำ คือ เรือตาอูร์ (Tahure) ระวางขับน้ำ ๖๐๐ ตัน และเรือมาร์น (Marne) ระวางขับน้ำ ๗๐๐ ตัน เรือเหล่านี้ ได้แยกออกเป็น ๓ หมู่ หมู่ที่ ๑ มีเรือลามอตต์ปิเกต์ลำเดียว เข้ามาทางช่องด้านใต้เกาะหวาย และ เกาะใบตั้ง หมู่ที่ ๒ มีเรือ ดูมองต์ กับเรืออามิราล เข้ามาทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับเกาะหวาย หมู่ที่ ๓ มีเรือตาอูร์ กับเรือมาร์น เข้ามาทางช่องด้านตะวันตกระหว่างเกาะคลุ้มกับแหลมบางเบ้าของเกาะช้าง ส่วนเรือดำน้ำ และเรือสินค้าติดอาวุธคงรออยู่ด้านนอกในทะเลไม่ได้เข้าทำการรบ
เรือหลวงธนบุรี —–
เรือหลวงชลบุรี
กำลังทางเรือฝ่ายไทยที่เข้าทำการรบมี ๓ ลำ เรือหลวงธนบุรี ระวางขับน้ำ ๒,๒๐๐ ตัน ลอยลำอยู่ที่บริเวณเกาะลิ่มส่วนเรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี ซึ่งมีระวางขับน้ำลำละ ๔๗๐ ตัน ลอยลำอยู่ที่อ่าวสลักเพ็ชร
ในตอนเช้าตรู่ของ วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ ขณะที่ทหารเรือหลวงธนบุรี กำลังฝึกกายบริหารตามปกติอยู่นั้น ประมาณ ๐๖.๑๒ น. ยามสะพานเดินเรือ ได้เห็นเครื่องบินข้าศึก ๑ เครื่อง บินมาทางเกาะกูดผ่านเกาะกระดาษมาตรงหัวเรือ จึงได้ประจำสถานีรบ แต่ยังมิได้ทำการยิง เนื่องจากว่าเครื่องบินข้าศึกได้บินเลี้ยวพ้นไปทางเกาะง่าม ตรงบริเวณที่เรือตอร์ปิโดทั้ง ๒ ลำ ลอยลำอยู่
และทันใดนั้น ทหารทุกคนก็ได้ยินเสียงปืนจากเรือตอร์ปิโด คือ เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรีทำการยิงสกัดกั้นเครื่องบินข้าศึก โดยทุกคนได้เห็นกลุ่มกระสุนระเบิดในอากาศใกล้เครื่องบิน และเครื่องบินบินลับตาไป ในชั่วขณะนั้นเองทุกคนกลับได้ยินเสียงปืนถี่และหนักขึ้น ยามสะพานเดินเรือ ได้รายงานว่า เห็นเรือข้าศึกทางใต้เกาะช้าง กับเกาะไม้ซี้ใหญ่ เรือที่ยามเห็นนี้คือเรือลามอตต์ปิเกต์ ซึ่งกำลังระดมยิงเรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี
การสู้รบของเรือหลวงธนบุรี
ประมาณ เวลา ๐๖.๔๐ น. ขณะที่เรือหลวงธนบุรีได้ตั้งลำพร้อมรบ เรือลามอตต์ปิเกต์ ก็โผล่จากเกาะไม้ชี้ใหญ่ และเป็นฝ่ายเริ่มยิงเราก่อนทันที
แผนที่สมรภูมิเกาะช้าง ———
นาวาโทหลวง พร้อม
เรือหลวงธนบุรีได้เริ่มยิงตับแรกด้วยป้อมหัว และป้อมท้าย โดยตั้งระยะ ๑๓,๐๐๐ เมตร ทันใดนั้นเองกระสุนตับที่ ๔ ของเรือลามอตต์ปิเกต์นัดหนึ่งเจาะทะลุผ่าห้องโถงนายพล และชอนระเบิดทะลุพื้นหอรบขึ้นมา เป็นเหตุให้ นาวาโทหลวงพร้อม วีระพันธุ์ และทหารในหอรบอีกหลายนาย ต้องเสียชีวิตในทันที อีกหลายนายได้รับบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากถูกสะเก็ดระเบิดถูกไฟลวกตามตัว กระสุนนัดนี้เองได้ทำลายเครื่องสื่อสารสั่งการไปยังปืน และเครื่องถือท้ายเรือซึ่งกำลัง เดินหน้าด้วยความเร็ว ๑๔ นอต ต้องหมุนซ้ายเป็นวงกลมอยู่ถึง ๔ รอบ ซึ่งในขณะนี้เอง เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ระดมยิง เรือหลวงธนบุรีอย่างหนัก ป้อมปืนทั้งสองของเรือหลวงธนบุรีต้องทำการยิงอิสระ โดยอาศัยศูนย์ข้างและศูนย์ระยะที่หอกลาง ปรากฎว่า เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ถูกกระสุนปืนจากเรือหลวงธนบุรี โดยมีแสงไฟจากเปลวระเบิด และควันเพลิงพุ่งขึ้น บริเวณตอนกลางลำ จำต้องล่าถอยโดยมารวมกำลังกับหมู่เรือฝรั่งเศสอีก ๔ ลำ ทางตะวันตกของเกาะเหลาใน และแล่นหนีไปในที่สุด
เรือหลวงธนบุรีไฟไหม้ —
วาระสุดท้ายเรือหลวงธนบุรี
ส่วนจำนวนทหารที่เสียชีวิต และบาดเจ็บของฝ่ายข้าศึกนั้น ไม่ทราบจำนวนแน่นอน นับจากได้เกิดการรบที่เกาะช้างแล้ว จนกระทั่งวันลงนามในสัญญาสันติภาพ คือวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ที่กรุงโตเกียว ก็ไม่ปรากฏว่ามีเรือรบของข้าศึกเข้ามาในอ่าวไทยอีกเลย ในการรบครั้งนี้ ทางฝ่ายไทยได้เสียชีวิตเป็นชาติพลี รวมทั้งสิ้น ๓๖ นาย เป็นนายทหาร ๒ นาย พันจ่า จ่า พลทหาร และพลเรือน ๓๔ นาย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทหารประจำเรือหลวงธนบุรี ๒๐ นาย เรือหลวงสงขลา ๑๔ นาย และเรือหลวงชลบุรี ๒ นาย
ภาพเปรียบเทียบขนาดเรือหลวงธนบุรีกับ เรือลามอตต์ปิเกต์การรบทางเรือที่เกาะช้างในครั้งนี้ แม้จะไม่จัดว่าเป็นการยุทธใหญ่ก็ตาม แต่ก็นับว่าเป็นการรบทางเรือตามแบบอย่างยุทธวิธีสมัยใหม่ กำลังทางเรือของไทยเข้าทำการสู้รบกับกำลังทางเรือของข้าศึก ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจทางเรือ และมีจำนวนเรือที่มากกว่า จนข้าศึกต้องล่าถอย ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจการระดมยิงหัวเมืองชายทะเล ทางภาคตะวันออกของประเทศได้สำเร็จ จึงนับเป็นเกียรติประวัติอันน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ซึ่งจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของชาติไทย และ ทหารเรือสืบไป
ผลที่ไทยได้รับจากกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส
กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศสยุติลง โดยการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น พลตรี หลวงพิบูลสงคราม ได้มี คำสั่งหยุดยิงเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. หลังจากนั้น คณะผู้แทนไทยคณะแรกได้เดินทางไปเจรจาพักรบที่เมืองไซ่ง่อน และได้มีการลงนามกัน
เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ บนเรือรบ “นาโตริ” ของญี่ปุ่น
การเจรจาพักรบบนเรือรบ “นาโตริ”
คณะผู้แทนไทยชุดที่สอง ได้เดินทางไปเจรจาสันติภาพที่กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ในสัญญาดังกล่าว ฝรั่งเศสต้องคืนดินแดนให้ไทย เป็นเนื้อที่ ๖๙,๐๖๙ ตารางกิโลเมตร ดังนี้
๑. แคว้นหลวงพระบาง ไทยยกฐานะเป็นจังหวัดล้านช้าง
๒. แคว้นจำปาศักดิ์ ไทยยกฐานะเป็นจังหวัดจำปาศักดิ์
๓. เมืองเสียมราฐ ไทยยกฐานะและเปลี่ยนนามใหม่เป็นจังหวัดพิบูลสงคราม
๔. เมืองพระตะบองและเมืองศรีโสภณ ไทยได้รวมกันและยกฐานะเป็นจังหวัดพระตะบอง
แผนที่ไทยได้ดินแดนคืน
สำหรับดินแดนที่ไทยได้คืนมานี้ ไทยต้องสูญเสียให้แก่ฝรั่งเศสอีกครั้งตามข้อตกลง ภายหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา ผลการรบในครั้งนั้น ทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นหลายอย่าง เช่น เพลงปลุกใจ วัฒนธรรมไทย รัฐนิยม รวมทั้งอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นสถานที่จารึกนามวีรบุรุษไทยผู้เสียสละชีพเพื่อชาติ ซึ่งยังคงตั้งตระหง่านมาจนถึงปัจจุบัน